หน้าหลักเว็บข้อมูลโรคมะเร็ง

chat

Monday, February 21, 2011

เปิดตัว"โรบอตตรวจมะเร็งปากมดลูก"

"มะเร็งปากมดลูก" โรคมะเร็งที่มีอัตราผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิง

ในประเทศไทย แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นราว 5,500 คน และมีอัตราเสียชีวิตเฉลี่ยถึงวันละ 15 คน

ล่าสุด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดตัว นวัตกรรมล่าสุด "โรบอตเทคโนโลยี" เทคโน โลยีอัตโนมัติเพื่อใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเครื่องแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ที่ช่วยเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการตรวจมากยิ่งขึ้น โดย น.พ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ดร. หม่า วูโป หัวหน้าฝ่าย สนับ สนุนด้านวิชาการชีวโมเลกุล และนายสจ๊วต ดอปสัน ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุน ทางการแพทย์ เอเชียแปซิฟิก จากโฮโลจิก ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนี่ยม สุขุมวิท (อโศก)




น.พ.ธีรวุฒิ กล่าวถึงโรคมะเร็งปากมดลูกว่า พบมากในกลุ่มผู้หญิงอายุ 35-50 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 1 ใน 2 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก รวมถึงการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้มีสาเหตุหลักจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมักกลัวหรืออายที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองหาเชื้อมะเร็ง เมื่อร่างกายแสดงอาการผิดปกติก็มักจะอยู่ในระยะที่ความรุนแรงของโรคลุกลามไปมากแล้ว

"มะเร็งปากมดลูกอาจรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะแรก โดยมีวิธีรักษาแตกต่างกันไปตามระยะอาการ ตั้งแต่การผ่าตัด การฝังแร่ การฉายแสง และการทำเคมีบำบัด โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายไป ล่าสุดได้นำเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเครื่องแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาบริการแก่ประชาชน ด้วยการตรวจคัดกรองด้วย "เครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์" (Thinprep Imager System) โดยจะใช้เครื่องโรบอตอ่านเพื่อค้นห้าเซลล์ต้องสงสัยว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง เป็นการลดข้อจำกัดของการตรวจแพพสเมียร์ในแบบเดิมๆ ซึ่งบางครั้งอาจเกิดผลลวงลบขึ้นได้ในระหว่างขั้นตอนการเก็บเซลล์จากปากมดลูก หรือในขั้นตอนการอ่านและการแปลผล เป็นการเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามมาตรฐานสากล" น.พ.ธีรวุฒิกล่าว

ประชาชนที่สนใจเข้ารับบริการด้วยเทคโน โลยีอัตโนมัติ เครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์ ตามโปรแกรมตรวจสุขภาพของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคให้บริการทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ศูนย์มะเร็งชลบุรี ศูนย์มะเร็งลพบุรี ศูนย์มะเร็งลำปาง ศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี ศูนย์มะเร็งอุดรธานี ศูนย์มะเร็งสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปสู่การเข้ารับบริการต่อไป

No comments:

Post a Comment