หน้าหลักเว็บข้อมูลโรคมะเร็ง

chat

Tuesday, January 18, 2011

ตกขาว...อย่าตกใจ

ตกขาว...อย่าตกใจ

ภาวะตกขาว
ภาวะตกขาว ซึ่งบางทีเรียกว่า มุตกิด หรือระดูขาวนั้น เป็นภาวะหนึ่งที่สตรีส่วนมากต้องประสบและทำให้สตรีจำนวนไม่น้อยมาพบแพทย์ และสูตินรีแพทย์ ภาวะดังกล่าวอาจเป็นอาการที่แสดงออกมาจากตอบสนองต่อฮอร์โมนในสตรีที่ปกติ หรือจากการที่เป็นโรคที่ไม่รุนแรงเรื่อยไปจนกระทั่งถึงโรคที่รุนแรงก็ได้ ดังนั้นภาวะนี้จึงมีความสำคัญมิใช่น้อย

ตกขาว คืออะไร

ตก ขาว เป็นของเหลวใด ๆ ที่ไหลออกมานอกช่องคลอด แต่ไม่ใช่เลือด ของเหลวดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากช่องคลอด ปากมดลูก และอวัยวะข้างเคียงบริเวณปากช่องคลอด ลักษณะของตกขาว จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในภาวะปกติ หรือกำลังเป็นโรคอยู่

อยู่อย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งเต้านม

อยู่อย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ถือเป็นเพชฌฆาตร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ และในประเทศไทยมีผู้หญิงป่วยเป็นโรคร้ายชนิดนี้มากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก จากสถิติทางการแพทย์ยังบ่งชี้ด้วยว่า สาวเมืองกรุงมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าสาวชนบท เพราะใช้ชีวิตรีบเร่งไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตัวเอง, ขาดการออกกำลังกาย และเป็นโรคเครียดสะสม

          ในเวทีสัมมนา "Wacoal Cares Your Breasts" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และเคล็ดลับการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ห่างไกลมะเร็งเต้านม อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ภายในงาน SAHA GROUP EXPORT & TRADE EXHIBITION ครั้งที่ 12 ที่ศูนย์ การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.กริช โพธิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมะเร็งเต้านม 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รู้จักกันไหมเอ่ย ว่า " โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ " คืออะไร และมีโรคอะไรที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บ้าง วันนี้เราจะไปทำความรู้จัก "โรค" ที่สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กัน          โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (ตามที่บัญญัติในราชบัณฑิตยสถาน) (Sexually transmitted disease; STD) อาจเรียกว่า "กามโรค" (Venereal disease) หรือ "วีดี" เกิดขึ้นจากการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก กับผู้ที่กำลังมีเชื้อ ปัจจุบันใช้คำว่า "การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์" เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น

          โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบัน นิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง รวมทั้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างๆ นอกจากนี้ในปัจจุบัน คู่แต่งงานมีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ทำให้คนมีสามี หรือภรรยาหลายคน จึงเกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากขึ้น

          สิ่งที่อันตรายของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อเป็นแล้ว มักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แล้วโดยไม่รู้ตัว และเป็นปัญหาในการจัดการทางระบบสาธารณสุข และที่สำคัญ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นี้ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้

ว่าด้วยเรื่องโรคของชายและหญิง ที่ต้องพึงระวัง

ว่าด้วยเรื่องโรคของชายและหญิง ที่ต้องพึงระวัง

รคของผู้ชายและผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป เนื่องจากสภาวะทางร่างกายของผู้ชายและผู้หญิงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกช่วงวัย ดังนั้น เราควรต้องรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ขึ้นได้

โรคฮิตที่ผู้ชายควรระวัง
            โรคหัวใจ ผู้ชายมักเริ่มมีอาการของโรคหัวใจเมื่อ อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น การอักเสบตรงผนังหัวใจ ความพิการของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมไปถึงหลอดเลือดแข็งตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ระบบควบคุมการทำงานของหัวใจล้มเหลว การที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ได้แก่ ความเครียด ระดับโคเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน ระดับความดันเลือดสูง อาการเตือนที่ควรสังเกต คือ มีไข้ขึ้นสูง

            โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ชาย 1 ใน 3 เมื่อวัยล่วงเข้าวัย 50 ปี มักมีอาการต่อมลูกหมากโต แต่กระนั้น อาการต่อมลูกหมากโตก็ยังไม่น่าเป็นห่วง เพียงแต่สร้างความรำคาญ แต่สิ่งที่อาจทำให้ผู้ชายนึกกลัว คือ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และมะเร็งต่อมลูกหมากที่จะตามมานั่นเอง

           ดังนั้นผู้ชายที่มีอายุมากแล้ว เวลามีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรให้หมอตรวจเช็ก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ส่วนอาการที่บ่งบอกว่าต่อมลูกหมากโต เช่น ต้องออกแรงฉี่มาก แต่ปัสสาวะไหลน้อยและอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจมีเลือดปนออกมา ซึ่งควรไปหาหมอ เพราะอาจมีความเจ็บป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ความน่ากลัวของโรคนี้สำหรับผู้ชาย คือ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพราะมีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง

            โรคความดันเลือดสูง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ ชายได้ตลอดเวลา เมื่ออายุย่าง 30-35 ปี มักเป็นก่อนอายุ 55 ปี โดยทั่วไปไม่พบอาการผิดปกติ แต่ตรวจพบเมื่อไปหาหมอด้วยโรคอื่น องค์การอนามัยโลก กำหนดค่าความดันเลือดที่เหมาะสมไว้ที่ 140/90 คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง คือมีค่าความดัน ช่วงบน-ช่วงล่าง มากกว่า 160/95 ส่วนค่าความดันที่ดี ควรน้อยกว่า 140/90 ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ อาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น หัวใจ ทำให้หัวใจวาย หอบเหนื่อย สมอง เส้นเลือดฝอยในสมองแตก หรือทำให้หลอดเลือดในดวงตาเสื่อม ประสาทตาเสีย ตาจะมัวมากขึ้นจนถึงขั้นทำให้บอด  

            โรคมะเร็ง ผู้ชายส่วนใหญ่มักเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคนี้แม้ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ นอกจากนี้รายงานการวิจัยยังระบุว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถลดความเสี่ยงการตายจากโรคนี้ได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอยู่

            โรคเบาหวาน  เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พบมากในผู้ชายและคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โรคเบาหวานเป็นแล้วรักษายาก ปัญหาของคนเป็นโรคนี้คือ ไม่สนใจตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องของ อาหาร ไม่ออกกำลังกาย ปล่อยตัวให้อ้วน อันตรายของเบาหวาน คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับอวัยวะและระบบทำงานของร่างกาย คือ ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม ตามัวขึ้นเรื่อยๆ ปลายประสาทอาจเกิดการอักเสบ เกิดอาการชาหรือปวดร้อนที่ปลายนิ้ว บาดแผลเกิดง่ายแต่รักษายาก บางคนเป็นบาดแผลนิดเดียวแต่อาจลุกลามใหญ่โต รวมไปถึงการเสื่อมและเกิดภาวะไตวายได้

โรคร้ายที่ผู้หญิงควรรู้ 
           มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ถูกจัดเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรง ซึ่งผู้หญิงหลายคนยังหวาดหวั่นกับโรคนี้อยู่ มะเร็งเต้านมก็คือ เซลล์เนื้อร้ายในเนื้อเยื่อเต้านม ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตเห็นปัญหาในเบื้องต้นได้เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านม หรือมีของเหลวซึมออกมาจากหัวนม

           ปัจจัยของโรคนี้มีสาเหตุหลายอย่างทั้ง พันธุกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี ภาวะน้ำหนักเกิน การดื่มสุราจัด ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจหาก้อนเนื้อที่เต้านมด้วยตนเอง และควรไปตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม หรืออุลตร้าซาวน์ด์เป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป 
           โรคหลอดเลือดสมอง ดูจะได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ น้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นตัวการคร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้หญิงมีอายุยืนกว่าจึงได้รับความทรมานจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชายไปโดยปริยาย โรคหลอดเลือดสมองเกิดจาก การที่หลอดเลือดซึ่งพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง

           อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มจากแขนขาอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน

           นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน รวมทั้งผู้ที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิด ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย

           โรคหัวใจ สำหรับทั่วโลกและในประเทศไทย โรคหัวใจคร่าชีวิตผู้หญิงมากกว่าโรคมะเร็งเสียอีก โรคหัวใจเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งจำกัดหรือตัดการลำเลียงออกซิเจนไปสู่หัวใจ ปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้

           อาการของโรคหัวใจ จะปวดเสียดที่หน้าอก หายใจไม่ออก หายใจถี่ ปวดกราม ปวดไหล่ วิงเวียน คลื่นเหียน อาจาร และเหงื่อแตก สำหรับผู้หญิงนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ความเครียดเรื้อรัง น้ำหนักที่เกินมาตรฐาน มักเกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด และครอบครัวมีประวัติการเจ็บป่วย

           ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกต้องตามหลักควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผ่อนคลายก็เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการเกิดโรคหัวใจได้ 
           มะเร็งรังไข่ เป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ท้ายสุดส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงแก่ชีวิตได้ วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา ระบุว่าร้อยละ 94 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ เริ่มมีอาการของมะเร็งมานานแล้ว อาการของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ คือ ช่องท้องบวมหรือขยายตัวเร็ว อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เจ็บบริเวณกระดูกเชิงกรานและช่องท้อง ปัสสาวะบ่อย และขับถ่ายผิดปกติ ฯลฯ 

           การตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมีความสำคัญเพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ ในระยะแรกโรคจะจำกัดวงอยู่เฉพาะภายในรังไข่ แต่หลังจากนั้นจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ช่องคลอด สำหรับการตรวจหามะเร็งรังไข่มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจช่องคลอดและทวารหนัก การตรวจอัลตร้าซาวน์ด์อุ้งเชิงกราน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ไม่แตกต่างจากมะเร็งทั่วไปในเรื่องของประวัติครอบครัว รวมทั้งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

           โรคกระดูกพรุน แม้โรคกระดูกพรุนอาจไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้หญิงไทยหลายล้านคนเลยทีเดียว ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนคงยืนยันได้ถึงความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและการมีข้อจำกัดทางกายภาพซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้โรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุของอาการกระดูกสะโพกร้าวซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก

           ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจัด การกินอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีต่ำ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงขึ้น เราสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคแคลเซียมอย่างเพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะกระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี และเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ดังนั้นยิ่งกระดูกเราแข็งแรงมากเท่าไรในช่วงที่พัฒนาเต็มที่ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกระดูกเท่านั้น

Tips เทคนิคดูแลสุขภาพให้ห่างโรคของชาย-หญิง
           นพ. พินิจ ลิ้มสุคนธ์  แพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลสุขุมวิท ได้เผยถึงเทคนิคการดูแลสุขภาพของผู้ชายและผู้หญิงว่า...

           การดูแลสุขภาพของผู้ชายกับผู้หญิงโดยทั่วไปแล้วไม่ต่างกัน เพราะทั้งสองฝ่ายก็เน้นการมีสุขภาพดี และก็ใช้พื้นฐานการดูแลสุขภาพในแบบเดียวกัน ซึ่งผู้ที่ใส่ใจสุขภาพก็จะมีความระมัดระวังในเรื่องการดูแลสุขภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าคนไม่ใส่สุขภาพเขาก็ไม่ตระหนักเรื่องพวกนี้ และก็ใช้วิถีชีวิตไปตามปกติซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่สำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพแล้วบางคนก็สุขภาพดี บางคนก็มีสุขภาพไม่ดีเนื่องมาจากความใส่ใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องลงมือปฏิบัติอย่างมีวินัย

           ถ้าเปรียบเทียบร่างกายเหมือนรถยนต์แล้วคุณต้องการให้รถยนต์มีสมรรถนะดี ก็มีหลักง่ายๆ คือใช้งานให้ถูกต้อง และทำนุบำรุงรักษาสม่ำเสมอ ฉะนั้น ร่างกายของเราถ้าจะให้มีสุขภาพดี ก็ต้องใช้งานให้ถูกต้อง ดำเนินวิถีชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ดูแลรักษา หมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เริ่มปรากฏ แล้ววิเคราะห์ด้วยตนเองหรือปรึกษาแพทย์ให้รู้ว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหมายถึงอะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ส่วนการใช้ชีวิตไปตามปกติ ก็ต้องให้เหมาะสมกับเพศกับวัย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศกับวัย อย่าขี้เกียจ
           สำหรับโรคภัยผู้ชายกับผู้หญิงนั้นก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ต่างกันที่เห็นได้ชัดคือผู้ชายมีต่อมลูกหมากและอัณฑะ ส่วนผู้หญิงมีรังไข่ มดลูก หน้าอก ผู้หญิงก็จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ แต่ในขณะเดียวกันผู้ชายจะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกเหนือจากปัญหาทั่วๆ ไป ผู้ชายก็จะเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง เช่นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับสมอง อัมพาต อัมพฤต ฯลฯ รวมถึงวิถีชีวิตและการปฏิบัติตัวที่ผู้ชายทำงานเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ทำงานนอกบ้าน และมีสังคมมากกว่าผู้หญิงซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพ

          ดังนั้น โรคที่เกิดถ้าดูแลสุขภาพไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ชายก็เป็นมากกว่าผู้หญิง แต่ถ้าคุณดูแลสุขภาพให้ดีๆ ผู้ชายกับผู้หญิงก็ห่างจากโรคได้เช่นเดียวกัน

ระวัง!พฤติกรรมเซ็กซ์ ส่งผลร้าย "มะเร็งปากมดลูก" (มติชนรายวัน)

ระวัง!พฤติกรรมเซ็กซ์ ส่งผลร้าย "มะเร็งปากมดลูก" (มติชนรายวัน)

          ขึ้นชื่อว่า "มะเร็ง" เป็นโรคร้ายที่หลายๆ คนกลัวทั้งนั้น ล่าสุดสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ "มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้" ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เพราะตอนนี้ "มะเร็งปากมดลูก" ได้คร่าชีวิตสาวไทยถึงวันละ 7 คนโดยเฉลี่ย และยังเพิ่มขึ้นปีละ 6-7 พันคน เชื่อว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในผู้หญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย 

อาจารย์



          นพ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล รองเลขาธิการสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย บอกว่า ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้หญิงไทยในปัจจุบันเริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานหรือมีการเปลี่ยนคู่นอน ไม่รู้วิธีการป้องกันตัวเอง จึงทำให้สาวไทยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นมาก แถมยังละเลยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งก็อยู่ในขั้นที่ยากต่อการรักษาแล้ว

มะเร็งปากมดลูก



          ด้าน รศ.พันเอกหญิง ฤดีวิไล สามโกเศศ เลขาธิการสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย บอกว่า ผู้หญิงจำนวนมากยังเข้าใจผิดคิดว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องของสาวสูงวัย ซึ่งมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงสูงวัย คือผลลัพธ์ของพฤติกรรมการไม่ดูแลปกป้องตัวเองอย่างถูกต้องในช่วงต้นของชีวิต อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การมีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย



มะเร็งปากมดลูก


          "การป้องกันมะเร็งปากมดลูกควรทำตั้งแต่ในวัย 11-12 ปี และอายุ 16 ปีมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่า ผู้ปกครองควรช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต"

บทความมะเร็งปากมดลูก

   มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวผู้หญิง

         สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ รณรงค์ให้ผู้หญิงไทยรู้จักป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์รณรงค์ชุด "Everything I Can" เร่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องสู่ภาคประชาชนเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV ที่อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์


         การติดเชื้อนั้นอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องการป้องกันและตรวจหาโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทางสถาบันฯ ต้องการมุ่งลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยทั่วประเทศ


         มะเร็งปากมดลูก นับเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย ด้วยสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยสูงถึง 6 พันคนต่อปี นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้หญิง 8 ใน 10 คนทั่วโลก มีโอกาสติดเชื้อ HPV ภายในช่วงอายุ 50 ปี โดยวัย 18-28 ปี คือช่วงอายุที่พบการติดเชื้อ HPV สูงสุด


         น.พ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาพยนตร์ชุดนี้มุ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกให้ผู้หญิง เรื่องราวในภาพยนตร์จะช่วยให้ประชาชนเข้าใจถึงโรคนี้ได้ดีขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักว่าการติดเชื้อไวรัส HPV นั้นติดต่อได้ง่ายทางเพศสัมพันธ์ ถ้ามีเพศสัมพันธ์ก็อาจมีความเสี่ยงตามมา ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส HPV และรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ
โฆษณามะเร็งปากมดลูก


         "หญิงสาวจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าโรคนี้เป็นเรื่องไกลตัวและมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองรวมทั้งคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นแม่ ลูกสาว หรือคนใกล้ชิด เราจึงหวังอย่างยิ่งว่าภาพยนตร์รณรงค์ชุดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้ผู้หญิงไทยหันมาป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม และเริ่มป้องกันตัวเองโดยการปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ แปปสเมียร์ หรือพิจารณาฉีดวัคซีน HPV ซึ่งจะช่วยให้ผู้หญิงลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 70"


         น.พ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล ประธานชมรมคอลโปสโคปีและพยาธิสภาพปากมดลูกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงวิธีป้องกันตนเองนั้นเป็นเรื่องที่หลายๆ ฝ่ายควรสนับสนุน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน

       
  โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอีกโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยสูงถึง 7 คนต่อวัน แต่เป็นโรคที่มีระยะการดำเนินโรคนานเป็นปีๆ และมีระยะก่อมะเร็ง จึงทำให้เราวินิฉัยพบและทำการรักษาตัดตอนก่อนจะลุกลามได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงสาเหตุและการป้องกันแก่ประชาชนในวงกว้าง เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มความตระหนักรู้ที่ถูกต้องแล้ว ยังจะลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคร้ายนี้ ตลอดจนลดความสูญเสียในครอบครัวและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย

       
  ผศ.ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ ตัวแทนผู้หญิงยุคใหม่ที่มาร่วมรณรงค์ กล่าวว่า ถ้าพูดถึงโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงเรานั้น มะเร็งปากมดลูกจะเป็นมะเร็งอันดับแรกที่นึกถึง ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคที่ถูกต้อง ประกอบกับทัศนคติของผู้หญิงที่อายกับการไปตรวจ แปปสเมียร์ หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงทำให้กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว


         ในฐานะที่เป็นคุณแม่ของลูกสาวและเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง จึงอยากมีส่วนช่วยรณรงค์ให้ผู้หญิงทุกคนหันมาสนใจและเริ่มดูแลตัวเอง เพราะมะเร็งปากมดลูกนั้นอาจเกิดได้กับผู้หญิงเราทุกคน เพียงแค่เปิดใจยอมรับที่จะเรียนรู้การป้องกันตนเองและปกป้องลูกสาวจากโรคร้าย และนอกจากจะตรวจ แปปสเมียร์ เป็นประจำทุกปีแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีน HPV และพาลูกสาวไปฉีดวัคซีน HPV เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV อีกทางหนึ่งด้วย

วัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก

วัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก

 หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ

           ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  
           อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ

การตรวจมะเร็งปากมดลูก

การตรวจมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด 
  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear)   อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น 
 
  •  ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
 

อาการมะเร็งปากมดลูก และวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก

อาการมะเร็งปากมดลูก และวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก
           โรค มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่มักพบใน ผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้  ทั้งนี้ อาการมะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับ ระยะของมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

           อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90  ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

           อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง  ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น

           อาการมะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้

           ระยะ 0  คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

           ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%

            ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด  (คีโม) ได้ผลราว 60%

          ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%

           ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต

    ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก
           การผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
           การฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
           ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้

คำค้นหา อาการมะเร็งปากมดลูก,การรักษามะเร็งปากมดลูก

สาเหตูของมะเร็งปากมดลูก

สาเหตูของมะเร็งปากมดลูก

 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลุก

  • มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย และพบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี
แต่มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งด้วยการทำแปปสเมียร์ โดยการเก็บเอา
เซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีมาก
หากเป็นมะเร็ง ที่ตรวจพบในระยะแรก